08 กรกฎาคม 2552
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
สาธารณรัฐเฮลเลนิกเน้นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนและสมดุล ซึ่งกระทรวงสิ่งแวดล้อม (Ministry for the Environment, Physical Planning and Public Works) เป็นผู้กำหนดโดย
- เป็นศูนย์กลางเสริมสร้างบุคลากรในการวางแผนรักษาและป้องกันสิ่งแวดล้อม
- วางแผนและกระจายอำนาจการดำเนินงานลงสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น
- ลดช่องว่างความไม่เสมอภาคในการดำเนินงานระหว่างส่วนกลาง เขตปกครอง และท้องถิ่นชนบท
- สร้างความสมดุลให้เกิดการกระจายประชากรอย่างสมดุลระหว่างชุมชนเมืองและชนบท (Hellenic Ministry of Environment , 2008)
นโยบายภายในประเทศ
นโยบายด้านเศรษฐกิจ
(1) ปฏิรูปภาษี โดยในปี 2547 รัฐบาลสาธารณรัฐเฮลเลนิกโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังปฏิรูปกฎหมายภาษีเพื่อส่งเสริมการทำธุรกิจขนาดย่อม/ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ให้มีการตรวจสอบภาษีอย่างโปร่งใส กระตุ้นการลงทุนในภาคเอกชนและส่งเสริมให้มีการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ
ระยะแรกเริ่มปี 2547 ทำการลดภาษีนิติบุคคลจากร้อยละ 35 เหลือร้อยละ 25 บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ จาก 1,000 ยูโร ถึง 11,000 ยูโรไม่ต้องเสียภาษีและ เพิ่มค่าลดหย่อนภาษีเงินบริจาค
ระยะที่ 2 เริ่มปี 2550 บุคคลธรรมดาที่มีรายได้จาก 1,000 ยูโร ถึง 12,000 ยูโร ไม่ต้องเสียภาษี
ปี 2552 ทำการลดภาษีอากรกลางจากร้อยละ 30 ลงเหลือร้อยละ 25 และลดอัตราเรียกเก็บภาษีสูงสุดจากร้อยละ 40 ลงเหลือร้อยละ 35 โดยขยายเก็บภาษีอากรกลางจากเงินได้ 30,000 ยูโร และเงินได้ ตั้งแต่ 75,000 ยูโรจะเรียกเก็บภาษีฯในอัตราสูงสุดร้อยละ 40
ในระยะสุดท้าย จะทำการปรับปรุงการเรียกเก็บภาษีทรัพย์สิน โดยในชั้นแรกจะยกเลิกภาษีมรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ระหว่างเครือญาติใกล้ชิด หลังจากนั้นให้ตรากฎหมายถือครองอสังหาริมทรัพย์ขึ้นแทนที่กฎหมายต่างๆที่ใช้เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อยู่ในปัจจุบัน
(2) กฎหมายสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน กรีซได้ตรากฎหมายสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนปี 2550-2558 ขึ้นเมื่อปี 2549มีสาระสำคัญเพื่อ เพิ่มการจ้างงาน เพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ กระตุ้นให้เกิดอาชีพด้านวิชาชีพอิสระมากขึ้น โน้มน้าวให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลางเพิ่มขึ้น สนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการลงทุน โดยประมาณการว่าจะสามารถสร้างงานใหม่ได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 21,000 งาน
(3) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnerships: PPPs) มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างตลาดให้กับสินค้าและบริการที่มีนัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
มีโครงการ 34 โครงการมูลค่า 4,000 ล้านยูโรเข้าร่วมและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสภากระทรวง (Interministerial Committee) แล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม 2549
(4) การแปรรูปกิจการของรัฐ (Privatisations) เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการย้ายสินทรัพย์และการดำเนินการภาคสาธารณะไปสู่ภาคเอกชน กล่าวคือการให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจของสาธารณะเพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจหลากหลายขึ้น ตั้งแต่เริ่มดำเนินการแปรรูปกิจการของรัฐเมื่อเดือนมีนาคมปี 2549 เป็นต้นมา ทำให้กรีซมีรายได้เพิ่มขึ้นและลดหนี้สินสาธารณะ โดยพบว่า 75%ของรายได้จากการแปรรูปกิจการของรัฐเกิดจากผู้ลงทุนจากต่างชาติ
(5) การส่งเสริมการส่งออก คณะกรรมการสินค้าส่งออกแห่งสหภาพเฮเลนิค (Hellenic Foreign Trade Board : HFTB) ได้สร้างแรงผลักดันให้การส่งออกของกรีซโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกในปี 2559 โตขึ้นจากปี 2547 ถึง 34.4 % และ จากปี 2548 ถึงปี 2550โตขึ้น ๒๒.๒%( Ministry of Economic and Finance, Hellenic Republic, 2008.)
ขนบธรรมเนียมประเพณี
ชาวสาธารณรัฐเฮลเลนิกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของสาธารณรัฐเฮลเลนิกในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู่
สาธารณรัฐเฮลเลนิกมีชื่อเสียงทางเรื่องศิลปะเป็นต้นแบบของงานสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเด่นและสง่างามของเสาหินแบบวิหารพาร์เธนอน ที่ตกแต่งตรงส่วนบนของหัวเสาด้วยศิลปะแบบกรีกมี 3 แบบ คือ ดอริก , ไอโอนิก และคอรินเธียน จะเห็นเสาหินแบบกรีกเป็นส่วนตกแต่งด้านหน้าของอาคารสำคัญๆและสิ่งก่อสร้างที่เป็นงานสถาปัตยกรรมเลื่องชื่อของโลกตามเมืองหลวงของประเทศต่างๆในยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย สถานที่ทำงานสำคัญๆ ของประเทศที่มีชื่อเสียงต่างๆ ล้วนนำสถาปัตยกรรมศิลป์ของกรีซไปประยุคผสมผสาน ในการก่อสร้างเป็นการยอมรับในอารยธรรมที่รุ่งเรืองของกรีซโบราณและเป็นการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่เคยเฟื่องฟูในอดีตของสาธารณรัฐเฮลเลนิกไปทุกมุมโลกนอกจาก งานสถาปัตยกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของสาธารณรัฐเฮลเลนิกที่เผยแพร่ไปทั่วโลกแล้ว งานจิตรกรรมและประติมากรรมของสาธารณรัฐเฮลเลนิกยังเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรดาพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ต่างๆ พยายามเสาะหามาเป็นสมบัติเก็บสะสมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
คุณลักษณะพิเศษของชนชาติกรีกที่โดดเด่นกว่าชนชาติอื่นๆ ในยุคสมัยเดียวกัน คือ การเป็นคนช่างคิด ใฝ่หาความรู้ ชอบใช้เหตุผล ชอบแสดงวาทะ และเป็นผู้มีจินตนาการที่สูง การมีจินตนาการ คนทั่วๆ ไปมักจะมองว่าเป็นเรื่อง เพ้อฝัน แต่แท้จริงแล้วจินตนาการนี้เองที่เป็นเครื่องมือสำคัญของการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ ความคิดทางวิทยาศาสตร์ก็มาจากจินตนาการ ประวัติการหาความรู้ของมนุษย์ที่มีความคิดอย่างมีระบบและใช้เหตุผลจึงเกิดขึ้นในดินแดนกรีซเป็นครั้งแรก
นอกจากนี้ชาวสาธารณรัฐเฮลเลนิกยังยึดมั่นในในแนวคิดมนุษยนิยม (Humanism) คือการเชื่อมั่นในศักยภาพคุณค่าและความสามารถของมนุษย์ มนุษย์สามารถสร้างสรรค์ความเจริญได้โดยไม่ต้องพึ่งเทพเจ้าบวกกับแนวคิดธรรมชาตินิยม หรือลัทธิสภาวนิยม (Naturalism) ที่อธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติไว้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล มีระเบียบแบบแผน และพยายามที่จะแสวงหาธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งต่างๆ แนวความคิดนี้คือจุดเริ่มต้นของแนวคิดวิทยาศาสตร์และรากฐานของศาสตร์ต่างๆ นำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ว่าในช่วงยุคกลางของยุโรปแนวคิดทั้งสองจะหยุดชะงักไปด้วยอำนาจอิทธิพลคำสอนของศาสนจักร แต่เมื่อเข้าสู่สมัยแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ในคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 แนวคิดทั้งสองได้ฟื้นตัวขึ้นมา และการกลับมาครั้งนี้ได้ปูทางนำไปสู่การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ในยุโรปเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 ต่อด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ความเจริญก้าวหน้าก็ยังคงต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้งจนถึงทุกวันนี้ (Bangkok university, 2008)
พรรคการเมือง
สาธารณรัฐเฮลเลนิกมีพรรคการเมืองที่สำคัญ คือ พรรคประชาธิปไตยใหม่ (New Democracy : ND) พรรคสังคมนิยม (Panhellenic Socialist Movement : PASOK) พรรคคอมมิวนิสต์(Party of Greece : KKE) พรรคCoalition of the Left and Progress พรรคPopular Orthodox Rally หรือ LAOS (CIA, 2008)
ขอบเขตอำนาจของฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดีและรัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร ผู้ที่จะเป็นประธานาธิบดีต้องได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองสมัย ประธานาธิบดีสามารถใช้อำนาจในฐานะตัวแทนประเทศประกาศสงคราม ทำสัญญาสงบสุข ทำข้อตกลง ร่วมมือ และเข้าร่วมทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศโดยคำนึงถึงผลประโยชน์และความมั่นคงของกรีซเป็นสำคัญ
กระทรวง ทบวง กรม
กระทรวงต่างๆของสาธารณรัฐเฮลเลนิก มี 16 กระทรวง คือ
- กระทรวงมหาดไทย บริหารรัฐกิจ และการกระจายอำนาจ
- กระทรวงพาณิชย์นาวีและและนโยบายเกี่ยวกับเกาะ
- กระทรวงวัฒนธรรม
- กระทรวงการพัฒนา
- กระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง
- กระทรวงจ้างงานและประกันสังคม
- กระทรวงการต่างประเทศ
- กระทรวงสาธารณสุขและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางสังคม
- กระทรวงยุติธรรม
- กระทรวงอีเจียน
- กระทรวงมาซิโดเนียและเทรซ
- กระทรวงกลาโหม
- กระทรวงการศึกษาและกิจการศาสนา
- กระทรวงพัฒนาชนบทและอาหาร
- กระทรวงท่องเที่ยว
- กระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร
การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ในกรีซการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นไปตามรัฐธรรมนูญการปกครองฉบับปี ค.ศ. 1975 และปรับแก้ไขปี ค.ศ. 1986 และ ค.ศ. 2001 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติสาธารณรัฐเฮลเลนิก และมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์นับถึงวันเลือกตั้ง
ระบบราชการฝ่ายพลเรือน
กฎและระเบียบราชการฝ่ายพลเรือนของสาธารณรัฐเฮลเลนิก จะครอบคลุมความมีสถานภาพของผู้ปฏิบัติงานในทุกด้าน เช่น ระบบงานการคัดสรรพนักงานฝ่ายพลเรือนเข้าทำงาน สิทธิและหน้าที่ กระบวนการเลื่อนตำแหน่ง ความรับผิดชอบในงาน การออกจากงาน ฯลฯ โดยที่บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญจะรับประกันความมั่นคงให้กับพนักงานฝ่ายพลเรือนทุกหน่วยงาน
สาธารณรัฐเฮลเลนิก จำแนกพนักงานฝ่ายพลเรือนออกเป็น 5 ประเภทคือ ประเภทที่ 1 พนักงานฝ่ายพลเรือนประจำ (regular civil servants) กฎระเบียบจะอยู่ภายใต้ข้อกำหนดในกฎหมายมหาชน ทำงานประจำ ขั้นตำแหน่งขึ้นกับระบบอาชีพที่ทำ ประเภทที่ 2 พนักงานฝ่ายพลเรือนประจำสำนักงานมีสถานภาพขึ้นอยู่กับอัตราที่รับเข้ามาทำงาน ประเภทที่ 3 พนักงานฝ่ายพลเรือนที่ทำสัญญาจ้างภายใต้กฎหมายเอกชน (private law contract)โดยมีกำหนดระยะเวลา ประเภทที่ 4 พนักงานฝ่ายพลเรือนที่จ้างโดยไม่กำหนดระยะเวลาและสามารถพิจารณาให้ออกจากงานเมื่อไดก็ได้ และประเภทที่ 5 พนักงานฝ่ายพลเรือนที่ทำสัญญาจ้างภายใต้กฎหมายเอกชนเฉพาะด้าน
ในการรับพนักงานฝ่ายพลเรือนเข้าทำงานนั้น กำหนดให้มีการสอบแข่งขันก็ได้ หรืออาจจะคัดเลือกโดยประเมินคุณสมบัติของผู้สมัครจากประสบการณ์ คุณวุฒิ การยอมรับของสังคม ฯลฯ การคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นพนักงานฝ่ายพลเรือนนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการคัดเลือกสูงสุด (Supreme Staff Selection Council)
ตำแหน่งของพนักงานฝ่ายพลเรือนที่ได้รับการคัดเลือกจะสตาร์ทจากตำแหน่งที่ได้รับการสรรหาเข้าทำงานและค่อยๆได้รับการเลื่อนขั้นเป็นไปตามลำดับชั้น (Hierarchy)ในปลายปี 2547 กรีซมีพนักงานฝ่ายพลเรือนรวม 367,122 คน (Hellenic Republic Ministry of the Interior,Public Administration and Decentralization,2005)
ระบบการปกครองในปัจจุบัน
ฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภา (The Hellenic Parliament) โดยต้องได้รับคะแนนเสียง 2 ใน 3 มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ไม่เกิน 2 วาระ ประธานาธิบดีจะแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (โดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี) รัฐสภาอาจจะกล่าวโทษประธานาธิบดี ถ้ามีผู้สนับสนุนไม่ต่ำกว่าจำนวน 1 ใน 3 และต้องใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 ในการผ่านญัตติ ประธานาธิบดีอาจจะยุบสภาได้ด้วยคำแนะนำของคณะรัฐบาลหรือความยินยอมของสภาแห่งสาธารณรัฐ (Council of the Republic)
สภาแห่งสาธารณรัฐ( Council of the Republic) เป็นเสมือนที่ปรึกษาของประธานาธิบดี ประกอบด้วย อดีตประธานาธิบดี อดีตนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีและผู้นำพรรคการเมืองฝ่ายค้านซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา สภาแห่งสาธารณรัฐอาจจะช่วยจัดตั้งรัฐบาลในกรณีที่พรรคการเมืองใหญ่ๆ ไม่สามารถตกลงกับจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากรัฐสภา นอกจากนี้ สภาแห่งสาธารณรัฐอาจให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งมิได้เป็นสมาชิกรัฐสภา
นอกจากนี้รัฐสภาต้องให้ความไว้วางใจคณะรัฐมนตรี ด้วย และรัฐบาลก็อาจถูกยุบได้ด้วยการลงมติไม่ไว้วางใจจากรัฐสภา
ฝ่ายนิติบัญญัติ
ร่างกฎหมายที่จะผ่านรัฐสภาต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดีซึ่งมีสิทธิคัดค้านได้ แต่การคัดค้านกฎหมายของประธานาธิบดีจะไม่มีผล ถ้าเสียงข้างมากของสมาชิกรัฐสภายังยืนยันสนับสนุนร่างกฎหมายดังกล่าว
รัฐสภา ประกอบด้วยผู้แทนราษฎร 300 คน ที่มาจากการเลือกตั้งโดยทางตรง (The Hellenic Parliament) มีวาระ 4 ปี
ฝ่ายตุลาการ
รัฐธรรมนูญของกรีซได้บัญญัติการใช้อำนาจตุลาการผ่านทางศาลซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- ศาลแพ่ง
- ศาลอาญา
- ศาลปกครอง
แต่ละศาลประกอบด้วยผู้พิพากษาตั้งแต่หนึ่งคนหรือหลายคนก็ได้ ทำการพิจารณาพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีโดยยุติธรรมอย่างอิสระภายใต้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญและกฎหมายของรัฐนั้นๆ และคำพิพากษาจะต้องประกาศต่อสาธารณชนให้รับรู้อย่างเป็นทางการ
ศาลสูงของคดีแพ่งและคดีอาญาคือ Court of Cassation ส่วนศาลปกครองก็จะมี Council of State ทำหน้าที่เป็นศาลปกครองสูงสุด
นอกจากนั้นสาธารณรัฐเฮลเลนิก ยังมีศาลสูงพิเศษมีอำนาจตัดสินเรื่องราวเฉพาะองค์กร เช่นศาลทหาร เป็นต้น (NationMaster, 2008)
การแต่งตั้งผู้พิพากษา ประธานาธิบดีโดยคำแนะนำของสภาตุลาการจะแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาตลอดชีวิต ผู้พิพากษาจะเป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อผู้ใด (Apecthai, 2003)
ระบบการเลือกตั้ง
สาธารณรัฐเฮลเลนิก มีสภาเดียวประกอบด้วยผู้แทนราษฎร 300 คน ที่มาจากการเลือกตั้งโดยทางตรง
การปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
การปกครองส่วนภูมิภาค สาธารณรัฐเฮลเลนิก แบ่งการปกครองประเทศออกเป็น 13 เขต/แคว้น (peripheries) มี 9 เขตบนผืนแผ่นดินใหญ่ และ 4 เขตบนหมู่เกาะ เขตต่าง ๆ จะแบ่งเป็นจังหวัด รวม 54 จังหวัด (prefectures - nomos)
- อัตติกะ (Attica)
- เซนทรัลกรีซ (Central Greece)
- เซนทรัลมาซิโดเนีย (Central Macedonia)
- ครีต (Crete)
- อีสต์มาซิโดเนียและเทรซ (East Macedonia and Thrace)
- อิไพรัส (Epirus)
- ไอโอเนียนไอแลนส์ (Ionian Islands)
- นอร์ทอีเจียน (North Aegean)
- เพโลพอนนีส (Peloponnese)
- เซาท์อีเจียน (South Aegean)
- เทสซาลี (Thessaly)
- เวสต์กรีซ (West Greece)
- เวสต์มาซิโดเนีย (West Macedonia)
นอกจากนี้ทางแถบมาซิโดเนีย ยังมี เขตปกครองตนเอง (autonomous region) ของสงฆ์หนึ่งแห่ง คือ เมานต์อะทอส (Mount Athos) (Wikipedia,2008)
แต่ละเขตจะมีเลขาธิการเขต (Secretary General of the Region : SGR) รับผิดชอบปกครองเขตนั้นๆ ภายใต้นโยบายรัฐบาลและบทบัญญัติที่เขตกำหนด โดยการควบคุม กำกับ ประสานงานและตรวจสอบหน่วยงานทุกหน่วยงานที่ให้บริการประชาชน แต่ละเขตมีสมาชิกเขตซึ่งประกอบด้วยเลขาธิการเขต กงสุล สหภาพแรงงานต่างๆ และสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพแต่ละสาขาวิชาชีพ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนสร้างความมั่นใจในการรักษาผลประโยชน์ของเขต (Hellenic Republic Ministry of The Interior,Public Administration and Decentralization, 2005)
การปกครองส่วนท้องถิ่น การปกครองในส่วนนี้จะจัดในรูปของเทศบาลและชุมชน ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบต่อกิจกรรมที่มีการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะในพื้นที่นั้นๆทั้งทางด้านสังคม การเงิน วัฒนธรรม และผลประโยชน์ต่อประชากร ผู้นำเทศบาล/ชุมชนจะต้องได้รับเลือกตั้งจากประชาชน (Hellenic Republic Ministry of The Interior,Public Administration and Decentralization, 2005)
ประวัติการปกครอง
สาธารณรัฐเฮลเลนิกมีการปกครองแบบสาธารณรัฐ หลังจากที่ประชาชนลงมติให้เลิกล้มการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2517 วันประกาศอิสรภาพของสาธารณรัฐเฮลเลนิก คือวันที่ 25 มีนาคม 2364 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของสาธารณรัฐเฮลเลนิก ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2528 แก้ไขเพิ่มเติม 2 ครั้ง คือ เดือนมีนาคม 2529 และเดือนเมษายน 2544 ระบบกฎหมายของสาธารณรัฐเฮลเลนิกมีพื้นฐานมาจากหลักกฎหมายของโรมัน
ปัจจุบันสาธารณรัฐเฮลเลนิกมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภา โดยต้องได้รับคะแนนเสียง 2 ใน 3 มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ไม่เกิน 2 วาระ ประธานาธิบดีจะแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (โดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี) รัฐสภาอาจจะกล่าวโทษประธานาธิบดี ถ้ามีผู้สนับสนุนไม่ต่ำกว่าจำนวน 1 ใน 3 และต้องใช้คะแนนเสียง 2 ใน ๓ ในการผ่านญัตติ ประธานาธิบดีอาจจะยุบสภาได้ด้วยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีหรือความยินยอมของสภาแห่งสาธารณรัฐ (Council of the Republic) ก็ได้
กิจกรรมด้านการธนาคาร
ในภาครัฐ เช่นเดียวกับประเทศอื่นทั่วโลก กรีซได้ก่อตั้งธนาคารแห่งสาธารณรัฐ
เฮลเลนิก (National Bank of Greece) ขึ้นเมื่อปี 2467 เปิดดำเนินการเมื่อ ปี 2468 ทำหน้าที่ในฐานะเป็นธนาคารศูนย์กลางแห่งชาติโดยตั้งสำนักงานใหญ่ในกรุงเอเธนส์ และมีสาขา 27 สาขาทั่วประเทศ ณ 1 มกราคม 2545 ธนาคารมีพนักงานทั้งสิ้น 3,086 คน
ธนาคารแห่งประเทศกรีซได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการก่อตั้ง European System of Central Banks (ESCB) ซึ่งประกอบด้วยธนาคารกลางแห่งยุโรป (European Central Bank :ECB) กับธนาคารชาติของประเทศทุกประเทศในอียู (National central banks : NCBs) และกรีซได้เข้าเป็นสมาชิกฯเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2543 ภารกิจของธนาคารฯประกอบด้วย
- ถือครองเงินทุนสำรองต่างประเทศ
- ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาล
- กำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์ฐานะและการดำเนินงาน ของสถาบันการเงิน และสถาบันการคลังเพื่อให้มีเสถียรภาพ
- ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรักษาประโยชน์ทางการเงินการคลังให้กับรัฐบาล (Bank of Greece, 2008)
ในส่วนของภาคเอกชน กรีซได้ก่อตั้งสมาคมธนาคารกรีซ (The Hellenic Bank Association :HBA) ขึ้นเมื่อ ปี 2571 ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นตัวแทนสถาบันการเงินในประเทศและสถาบันการเงินต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินการในกรีซ เกี่ยวกับการให้คำแนะนำในเรื่องการวางกฎระเบียบการธนาคาร มีส่วนร่วมตัดสินใจร่วมกับสมาชิกของสถาบันการเงินในประเทศและนานาชาติ รวมทั้งประสานนโยบายกับองค์กร/สมาคมของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ สมาคมธนาคารกรีซเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร ปัจจุบันสมาชิกของสมาคมธนาคารกรีซมีสมาชิก ประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน รวม 27 สถาบัน คือ
- EFG EUROBANK ERGASIAS S.A.
- ALPHA BANK S.A.
- PIRAEUS BANK S.A.
- EMPORIKI BANK OF GREECE S.A.
- AGRICULTURAL BANK OF GREECE S.A.
- GREEK POSTAL SAVINGS BANK
- MARFIN EGNATIA BANK S.A.
- BANK OF CYPRUS PUBLIC COMPANY LTD
- CITIBANK INTERNATIONAL plc
- MILLENNIUM BANK S.A.
-GENERAL BANK OF GREECE S.A.
- BANK OF ATTICA S.A.
- HSBC BANK plc
- ASPIS BANK S.A.
- PROBANK S.A.
- BAYERISCHE HYPO UND VEREINSBANK AG
- PROTON BANK S.A.
- BNP PARIBAS, FBB - FIRST BUSINESS BANK S.A.
- ABN-AMRO BANK N.V.
- HELLENIC BANK PUBLIC COMPANY LTD
- PANELLINIA BANK S.A.
- BANK OF AMERICA N.A.
- KEDR CLOSE JOINT STOCK COMPANY COMMERCIAL BANK
- ETHNIKI LEASING S.A.
- EFG EUROBANK ERGASIAS LEASING S.A.
- ALPHA LEASING S.A. (Hellenic Bank Association , 2008)
เครื่องมือชี้วัดทางเศรษฐกิจ ปี 2550
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross domestic products: GDP) : 314,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้เฉลี่ยของประชากร/คน/ปี : 28,280 ดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ(Growth rate) : ร้อยละ0.4
อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 3
ผลผลิตแยกตามประเภทดังนี้ :
- ผลผลิตทางเกษตรคิดเป็นร้อยละ 5.4 ของ GDP
- ผลผลิตทางอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 21.3 ของ GDP
การบริการคิดเป็นร้อยละ 73.3 ของGDP ( การบริการหมายความรวมถึง การคมนาคมการท่องเที่ยวเทเลคมนาคม การค้า การธนาคาร การสาธารณูปโภคและการป้องกันประเทศ
มูลค่าสินค้าส่งออก 23.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าสินค้านำเข้า 75.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ(U.S. Department of state, 2008)
อินเตอร์เน็ต
จำนวน Internet Host ที่เปิดให้บริการลูกค้า 905,824 ราย
จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จำนวน 2,048,000 ราย
การไปรษณีย์
สาธารณรัฐเฮลเลนิกมี บริษัทHellenic Post Inc. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ มี บริษัทในเครืออีก 4 บริษัทคือ บริษัท Tachymetaphores ELTA S.A. บริษัท KEK ELTA S.A. (Training Centre) Cooperative Postal Bank และ Postal Savings Bank T.T. รับส่งไปรษณีย์ประมาณ 2.086 ล้านชิ้นต่อวัน มีที่ทำการไปรษณีย์และเอเย่นต์รวม 2,000 แห่งทั่วประเทศ มีบุรุษไปรษณีย์ ให้บริการในเมือง 3,400 คนและ ในชนบท 1,146 คน (Hellenic post, 2008)
การขนส่งและการติดต่อ
สาธารณรัฐเฮลเลนิกเป็นประเทศที่ถือได้ว่ามีความชำนาญในการขนส่งสินค้าทางทะเลประเทศหนึ่งของโลก ปัจจุบันมีเรือสินค้าเดินสมุทรทั้งสิ้น 4,173 ลำ (ข้อมูลเมื่อ กุมภาพันธ์ 2551)(Hellenic chamber of shipping, 2008) คิดเป็นร้อยละ 8.5 ของเรือสินค้าทั้งหมดในโลก และสามารถบรรทุกของได้ร้อยละ 16.4 ของสินค้าที่บรรทุกทั่วโลก (U.S.Department of State, 2008) และรายได้จากธุรกิจการเดินเรือสมุทรสามารถลดการขาดดุลการค้าได้ถึง 1 ใน 3 ของทั้งหมด ปัจจุบันมีบริษัทชั้นนำที่เป็นเจ้าของกิจการเดินเรือในสาธารณรัฐเฮลเลนิกได้แก่
บริษัท Chartworld Shipping corporation สำนักงานตั้งอยู่ที่ Glyfada (ดูได้จาก URL : www.chartworld.gr/contact.htm ) มีเรือบรรทุกสินค้าให้บริการ จำนวน 25 ลำ น้ำหนักบรรทุกรวม 943,089 เมตริกตัน(Deadweight ton)
บริษัท Combine marine Inc. สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเอเธนส์ ( ดูได้จาก URL : www.combine.gr ) มีเรือบรรทุกสินค้าให้บริการจำนวน 27 ลำ น้ำหนักบรรทุกรวม 1,794,571 เมตริกตัน(Deadweight ton)
บริษัท Eletson corporation สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมือง Piraus (ดูได้จาก URL : www.eletson.com) มีเรือบรรทุกสินค้าให้บริการ จำนวน 26 ลำ น้ำหนักบรรทุกรวม 1,748,081 เมตริกตัน(Deadweight ton) และอยู่ในระหว่างต่อเรืออยู่อีก 8 ลำ น้ำหนักบรรทุกรวม 414,000 เมตริกตัน(Deadweight ton) กับเรือบรรทุกก๊าซหุงต้ม (LPG) และก๊าซแอมโมเนียอีก 4 ลำความจุรวม 140,000 ลูกบาศก์เมตร กำหนดแล้วเสร็จ พ.ศ. 2552-2553
บริษัท Oceanbulk maritime S.A. (ดูได้จากเว็บ URL : www.oceanbulk.gr) มีเรือบรรทุกสินค้าและคอนเทนเนอร์ให้บริการ ไม่ต่ำกว่า 30 ลำ
บริษัทAries Maritime Transport Limited สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเอเธนส์ ( ดูได้จาก URL : http://www.ariesmaritime.com/fleet/tanker-ships/index.php) มีเรือบรรทุกสินค้าให้บริการจำนวน 9 ลำ น้ำหนักบรรทุกรวม 491,486 เมตริกตัน(Deadweight ton) บริษัทดังกล่าวรับจ้างขนส่งสินค้าทุกประเภทและทุกเส้นทางทั่วโลก
การขนส่งทางบก เส้นทางลำเลียงสินค้าที่สำคัญทางบก คือ
ทางหลวงหมายเลข 1 ระยะทางยาว 550 กิโลเมตร ตั้งต้นจาก Piraeus ไปยัง Evzoni เชื่อมต่อทางหลวงในประเทศมาซิโดเนีย เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงยุโรปสาย E75 (เส้นทางเชื่อมระหว่างเกาะ ครีท (Crete)ในทะเลเมดิเตอเรเนียน กับเมือง วาโด (Vado)ในนอร์เวย์ )
ทางหลวงหมายเลข 2 ระยะทางยาว 670 กิโลเมตร ตั้งต้นจากท่าเรือ Igoumenitsaใน Thesprotia (สาธารณรัฐเฮลเลนิกตะวันตก) ไปยัง Kipoi (สาธารณรัฐเฮลเลนิกตะวันออก) เชื่อมต่อทางหลวงในประเทศตุรกี
ทางหลวงหมายเลข 5 ตั้งต้นจากทิศตะวันตกของเมือง Rio ไปยังใจกลางเมือง Ioannina
นอกจากนั้นสาธารณรัฐเฮลเลนิกได้ก่อสร้างและปรับปรุงทางหลวงที่มีอยู่เดิมให้เป็นมอเตอร์เวย์ขึ้นรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจคือ
มอเตอร์เวย์สาย A1: PAThE Motorway ระยะทางยาว 550 กิโลเมตร(เส้นเดียวกับทางหลวงหมายเลข 1) ตั้งต้นจากเมือง Pireas - Athens - Thessaloniki ไปสิ้นสุดที่ Evzoni
มอเตอร์เวย์สาย A2 : Egnatia Odos ระยะทางยาว 670 กิโลเมตร(เส้นเดียวกับทางหลวงหมายเลข 2) ตั้งต้นจากท่าเรือ Igoumenitsa ไปสิ้นสุดที่ เมือง Evros ติดชายแดนประเทศตุรกี
มอเตอร์เวย์สาย A3 : Central Greece Motorway ระยะทางยาว 670 กิโลเมตร 175 กิโลเมตร ตั้งต้นจากเมือง Lamiaไปสิ้นสุดที่ เมือง Evzoni เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 กำหนดแล้วเสร็จภายใน 5 ปี
มอเตอร์เวย์สาย A5 : Ionia Odos เป็นเส้นทางที่ก่อสร้างขึ้นเชื่อมเพิ่มเติมต่อจากทางหลวงหมายเลข A8 และ A9 ตั้งต้นจากเมืองIoannina ผ่านเมือง Arta – Aglinio ไปสิ้นสุดที่ใกล้กับเมือง Rio เริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. 2549 กำหนดแล้วเสร็จ พ.ศ. 2555 เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จถนนเส้นนี้จะพาดผ่านตัวเมืองริมฝั่งตะวันตกของสาธารณรัฐเฮลเลนิกแทบทั้งหมด
มอเตอร์เวย์สาย A6 : Attiki Odos ระยะทางยาว 65 กิโลเมตร สร้างพาดผ่านกรุงเอเธนส์และชานเมืองและเชื่อมต่อกับถนนที่ไปท่าอากาศยานนานาชาติเอเธนส์
มอเตอร์เวย์สาย A7 : Eastern Peloponese ระยะทางยาว 205 กิโลเมตร ตั้งต้นจาก เมือง Corinth ผ่าน เมืองTripoli ไปสิ้นสุดที่ เมืองKalamata
มอเตอร์เวย์สาย A8 : Athens - Patras ตั้งต้นจาก เมือง Elefsinaในกรุงเอเธนส์ ไปสิ้นสุดที่ เมือง Patras กำหนดแล้วเสร็จ พ.ศ. 2554
การขนส่งโดยรถไฟ ตามรายงานหอการค้าสาธารณรัฐเฮลเลนิก หมายเลข 39 พ.ศ. 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการขนส่งและคมนาคมแจ้งว่าใน พ.ศ. 2549 ธุรกิจของสาธารณรัฐเฮลเลนิกเกือบ 4,000 ธุรกิจดำเนินกิจการในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งต่างชาติมาลงทุนในประเทศสูงมาก สาธารณรัฐเฮลเลนิกจึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการขนส่งและคมนาคม ด้านการขนส่งโดยราง (รถไฟ รถราง) โดยจัดสรรงบประมาณการลงทุนไว้ในลำดับต้นๆ กล่าวคือ ต้องก่อสร้างเพิ่มให้ทางรถไฟระหว่างเมืองพาทราส (Patras)- เทสซาโลนิคิ (Thessaloniki) – ไอโดมเมนิ (Idomeni) แล้วเสร็จโดยด่วน ต้องขยายทางรถไฟชานกรุงเอเธนส์ออกไปจนถึงเมืองไซโลคาสโตร (Xylokastro) สร้างทางรถไฟเชื่อมกรุงเอเธนส์กับเมืองลาฟริโอ (Lavrio) และเมืองราฟินา (Rafina) ปรับปรุงเส้นทางรถไฟระหว่างกรุงเอเธนส์กับเมืองฮาลคิดิ (Halkidi) รวมทั้งพัฒนาทางรถไฟในเมืองเทสซาโลนิคิ (Thessaloniki) อันเป็นการดำเนินงานรองรับกระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ (Logistics) รวมทั้งการออกแบบตั้งแต่ต้นจนถึงจุดสิ้นสุด การวางแผนทั้งการจัดส่ง (Supply Chain) ของภาคธุรกิจของสาธารณรัฐเฮลเลนิกเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดโลก (Athens chamber of commerce and industry , 2008)
การขนส่งทางอากาศ สาธารณรัฐเฮลเลนิกวางแผนปรับปรุงและก่อสร้างสนามบินที่เมืองคาสเทลิ (Kasteli) และที่เกาะครีท (Crete) ซึ่งลงทุน 1,200 ล้านยูโร ปรับปรุงสนามบิน 12 โครงการกำหนดแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2551 ใช้วงเงิน 500 ล้านยูโร และใน พ.ศ. 2551สาธารณรัฐเฮลเลนิกวางแผนปรับปรุงและก่อสร้างอีก 16 สนามบินใช้งบประมาณ 900 ล้านบาท โดยกำหนดให้สนามบินแอนดราวิดา (Andravida) รองรับธุรกิจการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ (Athens chamber of commerce and industry , 2008)
การพาณิชยกรรม
ตั้งแต่สาธารณรัฐเฮลเลนิกได้เข้าร่วมกลุ่มในเขตยูโร (กรีซเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2524 และเป็นสมาชิกEuro zone ใน พ.ศ. 2544) ทำให้งบประมาณของประเทศลดการขาดดุลทางบัญชีลงต่ำกว่าร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และในเวลาเดียวกันสาธารณรัฐเฮลเลนิกได้พัฒนาเศรษฐกิจทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในแต่ละปีร้อยละ 4 จาก พ.ศ. 2547-2550 อัตราการว่างงานลดลง การส่งออก การลงทุนมีมูลค่าสูงขึ้น โดยเฉพาะใน พ.ศ. 2550 ต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศถึง 4,000 ล้านยูโร(ร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแผน National Strategic Reference Framework (ESPA) 2007-2013 รัฐบาลเปิดให้ทุกภาคส่วน ซึ่งได้แก่ ธุรกิจการท่องเที่ยว พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ บริการอื่นๆ ธนาคาร มีโอกาสเข้ามาลงทุน โดยเน้นให้สาธารณรัฐเฮลเลนิกเป็นใจกลางตลาดของยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศในตะวันออกกลาง และประเทศใน
อาฟริกาเหนือ โดยมีบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศ ประมาณ 4,000 บริษัท และธนาคารต่างๆอีกไม่ต่ำกว่า 2,300 สาขา ช่วยกันขับเคลื่อนธุรกิจการค้าในเขตนี้ให้โตขึ้นๆในอนาคต (Athens chamber of commerce and industry, 2008)
การค้าระหว่างประเทศ ระบบเศรษฐกิจของสาธารณรัฐเฮลเลนิกเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (open economy) โครงสร้างหลักของสินค้าส่งออกของสาธารณรัฐเฮลเลนิก มีตลาดส่งออกหลักได้แก่ อิตาลี (ร้อยละ11.2) เยอรมนี (ร้อยละ11.4) บัลแกเรีย (ร้อยละ5.8) สหราชอาณาจักร (ร้อยละ5.8) ไซปรัส (ร้อยละ5.3)
ในส่วนของโครงสร้างหลักของสินค้านำเข้าของสาธารณรัฐเฮลเลนิกโดยมีตลาดนำเข้าหลัก ได้แก่ เยอรมนี (ร้อยละ 12.2) อิตาลี (ร้อยละ 10.9) รัสเซีย (ร้อยละ6) ฝรั่งเศส (ร้อยละ5.9) และ จีน (ร้อยละ4.9 )
ในด้านการลงทุนภายในประเทศ สหภาพยุโรปได้ตรากฎระเบียบเกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจในการลงทุนในประเทศสมาชิกอียูไว้อย่างเหมาะสม อันเป็นการเปิดโอกาสให้กรีซสามารถกำหนดค่าลดหย่อนต่างได้สูงถึงร้อยละ 60 ของมูลค่าโครงการ ทำให้ใน พ.ศ. 2549 ต่างชาติได้นำเงินมาลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment)ในสาธารณรัฐเฮลเลนิก 6,990 ล้านยูโร สูงกว่าในปีที่ผ่านมา ถึง 1 เท่าตัว โดยส่วนใหญ่นำมาลงทุนในการก่อตั้งธุรกิจใหม่ๆ การควบรวมกิจการที่ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว รวมทั้งซื้ออสังหาริมทรัพย์ และแหล่งเงินทุนดังกล่าวมาจากประเทศในยุโรปเกือบทั้งหมดยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว ฝรั่งเศสลงทุนมากที่สุดถึง 2,486 ล้านยูโร รองลงมา ประเทศสหราชอาณาจักร 1,071 ล้านยูโร อันดับสามคือประเทศเยอรมันนี 1,069 ล้านยูโร ตามลำดับ และลงทุนในหลากหลายภาคธุรกิจตั้งแต่อุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ ค้าส่ง ค้าปลีก จนถึงธุรกิจบริการการท่องเที่ยว (Athens chamber of commerce and industry , 2008)
การอุตสาหกรรมและแหล่งวัตถุดิบ
อุตสาหกรรมหลัก คือ การท่องเที่ยวสามารถทำรายได้สูงถึง 29,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2547 (Wikipedia,2008) คิดเป็นร้อยละ 15 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในสาธารณรัฐเฮลเลนิกในแต่ละปีเฉลี่ย 12.5 ล้านคน (Ben Berry, 2008)
รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์หลักที่สาธารณรัฐเฮลเลนิกส่งออกทั่วโลก คือน้ำมันมะกอกประมาณปีละ 430,000 เมตริกตัน ลองลงมาคือ น้ำผึ้ง เนยแข็ง ไวน์ สิ่งทอยาสูบ ผลิตภัณฑ์เคมี โลหะ สินแร่ และปิโตรเลียม ตามลำดับ (CIA, 2008)
ปัจจุบันสาธารณรัฐเฮลเลนิกได้มุ่งเน้นพัฒนาทั้งอุตสาหกรรมหนัก และอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆทั่วโลก คือ
ในส่วนของอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมปิโตรเลียมกับอุตสาหกรรมการต่อเรือ จะเจริญเติบโตและดำเนินกิจการอย่างยั่งยืน ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างต่อไปนี้
อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ซึ่งมีบริษัท Hellenic Petroleum S.A. เป็นบริษัทกลั่นปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2501 มีโรงกลั่นน้ำมันถึง 3 โรงตั้งอยู่ที่ กรุงเทสซาโลนิคิ (Thessaloniki) เมืองเอเลฟซินา (Elefsina) และ เมือง แอสโพรไพกอส (Aspropyrgos) ตามลำดับ นอกจากนั้นบริษัทยังดำเนินธุรกิจด้านปิโตรเคมี ขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติตลอดจนปฏิบัติการเดินเครื่อง (Operate)โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ขนาด 390,000 กิโลวัตต์ และบริษัทมีสินทรัพย์รวม 4,166.8 ล้านยูโร ( ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551) (Hellenic Petroleum S.A., 2008) โดยรัฐบาลสาธารณรัฐเฮลเลนิกถือหุ้นร้อยละ 35.49 บริษัท Paneuropean Oil and Industrial Holdings S.A. ถือหุ้นร้อยละ 34.32 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 30.19 เปิดขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (Wikipedia, 2008)
อุตสาหกรรมการต่อเรือ มี บริษัทHellenic Shipyards S.A.ที่กองทัพเรือของสาธารณรัฐเฮลเลนิกได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2482 ที่เมืองสคารามากาส (Skaramagas) ห่างจากกรุงเอเธนส์ไม่มากนัก 18 ปีต่อมาใน พ.ศ. 2500 กองทัพฯได้ขายกิจการให้กับนักธุรกิจชาวกรีกชื่อStavros Niarhos หลังจากนั้นได้เปลี่ยนเจ้าของจากภาคเอกชนไปเป็นภาครัฐและจากภาครัฐมาเป็นภาคเอกชนอีกครั้งหนึ่ง ปัจจุบันเป็นบริษัทเต็มตัวอยู่ในเครือของ TKMS Group เป็นบริษัทอุตสาหกรรมต่อเรือ ซ่อมเรือรบและเรือพาณิชย์นาวีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและในบริเวณฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน (Hellenic Shipyards S.A., 2008)
ในส่วนของอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลาง ซึ่งจัดอยู่ในวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (Small and Medium Sized Enterprises : SMEs) (เอสเอ็มอี) สาธารณรัฐเฮลเลนิกได้จัดตั้งองค์กรขึ้นดูแลให้สอดคล้องกับการสนับสนุนของสหภาพยุโรปโดยเฉพาะ คือบรรษัทจัดการวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางและผลิตภัณฑ์หัตถกรรม (The Hellenic Organization of Small and Medium Sized Enterprises and Handicraft S.A. : EOMMEX) ขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการพัฒนา(Ministry of Development) มีภารกิจกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาเอสเอ็มอี ส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในการเริ่มดำเนินกิจการ มุ่งเน้นการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและเพิ่มความสามารถให้เพียงพอที่จะปรับตัวได้ทันกับกระแสการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการ พร้อมทั้งมุ่งเน้นการปรับโครงสร้างโดยใช้ฐานความรู้ การสร้างสังคมผู้ประกอบการ การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้วยการรังสรรค์ ไปสู่การพัฒนาความเป็นเลิศในกลุ่มสินค้าในตลาดโลก ตั้งสำนักงานอยู่ที่ใจกลางกรุงเอเธนส์
ธุรกิจเอสเอ็มอีในสาธารณรัฐเฮลเลนิกมี ประมาณ 733,000 หน่วย ใช้แรงงานรวม 1,695,000 คน และในเอสเอ็มอีดังกล่าวเกินครึ่งหนึ่ง คือ จำนวน 394,000 หน่วย มิได้ใช้แรงงานที่ต้องจ่ายค่าจ้าง แต่ใช้แรงงานจากบุคคลในครอบครัวโดยเฉลี่ย 11 คนต่อหน่วย (Hellenic Organization of Small and Medium Sized Enterprises and Handicraft S.A., 2008)
การเกษตรกรรม
ปัจจุบัน กรีซทำเกษตรกรรมและปศุสัตว์ภายใต้นโยบายรวมของสหภาพยุโรป (Common Agricultural Policy : CAP) ที่ตกลงให้ความช่วยเหลือเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ ราคาถูก โดยที่ การทำเกษตรกรรมนั้นต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ผลผลิตหลักได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโพด ฝ้าย น้ำมันพืช ( มะกอก ทานตะวันและถั่วเหลือง) ใบยาสูบ มันฝรั่ง (Wikipedia, 2008)
ทรัพยากรมนุษย์
ประชากรของสาธารณรัฐเฮลเลนิกมี 11.213 ล้านคน และมีแรงงานทั้งประเทศประมาณ 4.945 ล้านคนซึ่งกระจายอยู่ในภาคการเกษตรกรรมร้อยละ 12 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 20 ส่วนที่เหลืออยู่ในภาคบริการร้อยละ 68
จากการประมาณการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (The General Secretariat of National Statistical Service of Greece) ของกรีซเมื่อต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 สามารถประเมินได้ว่าอัตราการว่างงานของแรงงานทั้งประเทศคิดเป็นร้อยละ 7.2 ต่ำสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (นับแต่ พ.ศ. 2541) และพบว่าแรงงานที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปมีทั้งสิ้นร้อยละ 53.5 ของประชากรทั้งประเทศ อัตราการว่างงานของแรงงานหญิงคิดเป็นร้อยละ 10.8 สูงกว่าแรงงานชายซึ่งมีอัตราการว่างงานร้อยละ 4.7 (National Statistical Service of Greece, 2008)
โดยปรกติสาธารณรัฐเฮลเลนิกมีปัญหาด้านผู้อพยพหรือผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศอัลบาเนีย โปแลนด์ โรมาเนีย บัลกาเรีย เซอร์เบีย มอนเตเนโกร ประมาณ 800,000 คน แต่สามารถแก้ปัญหาโดยกำหนดนโยบายไม่รับแรงงานต่างชาติเข้าทำงานอีกและมีความเข้มงวดในเรื่องการเข้าเมืองมาก (กรมยุโรป, 2551)
การก่อการร้าย
ใน พ.ศ. 2547 รัฐบาลกรีซได้ผ่านกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายตามนโยบายของสหภาพยุโรป และใน พ.ศ. 2549 สาธารณรัฐเฮลเลนิกได้ประกาศใช้หนังสือเดินทาง (E- passport) ซึ่งเป็นหนังสือเดินทางที่ใช้ข้อมูลชีวภาพของบุคคลในการพิสูจน์สัญชาติและตัวบุคคล (Biometric passport) และให้การรับประกันสหภาพยุโรปในการจับกุมผู้ก่อการร้าย โดยหนังสือเดินทางแบบใหม่นี้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้เดินหากไปยังประเทศสหรัฐฯ ซึ่งมาจากประเทศที่ไม่ต้องใช้วีซ่า ส่วนการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายในน่านน้ำ กองทัพเรือสาธารณรัฐเฮลเลนิกได้ปฏิบัติการร่วมกับประเทศสมาชิกนาโต้ด้วย
การประชาสงเคราะห์และการสาธารณสุข
ในปี 2547 สาธารณรัฐเฮลเลนิกใช้เงินไปในงานสาธารณสุขถึงร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD)ด้วยกัน (ร้อยละ8.9) แต่เมื่อเปรียบเทียบโดยคิดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพรายบุคคล สาธารณรัฐเฮลเลนิกใช้จ่ายด้านสุภาพรายบุคคลตกปีละ 2,162 ดอลลาห์สหรัฐ ในขณะที่ ค่าเฉลี่ยของ OECD รายละ 2,550 ดอลลาห์สหรัฐ จากสถิติพบว่าสาธารณรัฐเฮลเลนิกมีหมอ 4.9 คนต่อประชากร 1,000 คน แต่ OECD มีหมอเพียง 3 คนต่อประชากรจำนวนเดียวกัน ประชาชนชาวสาธารณรัฐเฮลเลนิกมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 79 ปี
ระบบสาธารณสุขแห่งชาติ (National Health System หรือเรียกว่า ESY-Ethniko Systima Ygeias)ให้บริการประชาชนฟรีโดยมิได้จำกัดฐานะบุคคลมาตั้งแต่ปี 2526 สาธารณรัฐเฮลเลนิกให้บริการไม่จำกัดว่าบุคคลที่เข้ารับการรักษานั้นเป็นคนในสัญชาติสหภาพยุโรปหรือไม่ ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงพหุพาคีและไตรภาคีที่ สหภาพยุโรปทำไว้
การสาธารณสุขแบบป้องกัน (Primary Health Care) ในชนบท ESY จัดบริการให้โดยผ่านทางศูนย์สุขภาพชนบทและหน่วยงานผ่าตัดของจังหวัด แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในเขตหรืออำเภอนั้นๆ ส่วนในเมืองจะให้บริการผ่านทางโพลีคลินิกของสถาบันประกันสังคม ส่วนการให้บริการรักษาคนไข้ (Secondary Health Care) จะจัดโดยโรงพยาบาลสาธารณะ โรงพยาบาลเอกชน คลีนิคและโรงพยาบาลที่กองทุนประกันสังคม (Social Insurane Fund)เป็นเจ้าของ จากสถิติพบว่าอัตราการเป็นโรคหัวใจของประชาชน 68.8/100,000 คน และโรงพยาบาลมีจำนวนเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่สามารถรับคนไข้ 4.9/1,000 คน
การศึกษา
เด็กที่มีอายุระหว่าง 6 ถึง 15 ปี จะต้องเข้าเรียนตามระเบียบการศึกษาภาคบังคับ 2 ระดับ คือระดับประถมศึกษา (6 ปี) กับมัธยมศึกษา (3 ปี) หลักสูตรของมัธยมศึกษาจำแนกเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทสามัญศึกษามีทั้งหลักสูตร 2 ปี กับ 3 ปี กับ อาชีวะศึกษาหลักสูตร 3 ปี หลังจากนั้นก็สามารถสอบเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันการศึกษาด้านอาชีพต่อไปได้ ซึ่งระบบการศึกษาคล้ายกับระบบของประเทศไทย ( Greek education system, 2008 )
สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงในสาธารณรัฐเฮลเลนิก (Wikipedia, 2008) มีดังนี้
- Agricultural University of Athens
- Aristotle University of Thessaloniki (campuses: Thessaloniki, Veria, Serres)
- Athens School of Fine Arts
- Athens University of Economics and Business
- Democritus University of Thrace (campuses: Komotini, Xanthi, Alexandroupoli, Orestiada)
- Harokopion University of Athens
- Hellenic Open University
- International Hellenic University
- Ionian University
- National and Kapodistrian University of Athens
- National Technical University of Athens
- Panteion University of Social and Political Sciences
- Technical University of Crete
- University of the Aegean (campuses: Mytilene, Chios, Karlovasi, Rhodes, Ermoupoli)
- University of Central Greece (campuses: Lamia, Livadeia)
- University of Crete (campuses: Heraklio, Rethymno)
- University of Ioannina (campuses: Ioannina, Agrinio)
- University of Macedonia (campuses: Thessaloniki, Edessa, Naoussa)
- University of Patras
- University of Peloponnese (campuses: Tripoli, Korinthos, Kalamata, Nafplio, Sparti)
- University of Piraeus
- University of Thessaly (campuses: Larissa, Volos, Karditsa, Trikala)
- University of Western Macedonia (campuses: Florina, Kozani)
ประชามติและขวัญของประชากร
วัฒนธรรมและวิถีการดำเนินชีวิตในสังคม สาธารณรัฐเฮลเลนิกได้แบบอย่างมาจากอารยธรรมโบราณของตนเองเมื่อประมาณ 3,500 ปีกว่ามาแล้ว ซึ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า อารยธรรมของชาวกรีกโบราณเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรมของชาวยุโรปตะวันตกในปัจจุบัน สาธารณรัฐเฮลเลนิก ผ่านการต่อสู้ทางการเมืองมายาวนาน ประชาชนได้เรียนรู้การเมืองการปกครองในรูปแบบต่างๆ ทั้งระบบกษัตริย์ที่มีอำนาจมากดังอำนาจของจักรพรรดิต่าง ๆ และระบบกษัตริย์ที่เป็นเพียงสัญลักษณ์ของประเทศ การปกครองในระบอบเผด็จการ แบบทหารกุมอำนาจและเผด็จการแบบอาณาจักรไรซ์ของเยอรมัน รวมทั้งการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีรากเหง้ามาจากปรัชญากรีก บทเรียนเหล่านี้ทำให้ประชาชนสาธารณรัฐเฮลเลนิกได้เรียนรู้และพัฒนาระบบการเมืองให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตได้ดี นอกจากนั้นการจัดวางระบบถ่วงดุลอำนาจในการเมืองการปกครองของสาธารณรัฐเฮลเลนิกทำให้สะท้อนให้เห็นรากฐานความคิดที่เป็นประชาธิปไตยที่น่าสนใจ ชาวกรีซชอบที่จะพูดคุยแสดงความคิดเห็น และโต้เถียงกันมาก แต่ไม่ถึงขั้นใช้กำลังทำร้ายกัน เป็นการแสดงออกทางการเมืองอย่างหนึ่งที่สะท้อนวัฒนธรรมของคนสาธารณรัฐเฮลเลนิกที่มีมานาน ซึ่งดีต่อระบบประชาธิปไตย ในรัฐธรรมนูญเช่นกันที่มีบทบัญญัติด้านการศึกษาไว้เป็นหลักการของชาติ คุ้มครองในเรื่องการศึกษาเล่าเรียน สิทธิในการสอน บทบาทของการวิจัย บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ความเข้มแข็งของรากฐานประชาธิปไตยในจิตวิญญาณที่เห็นได้ชัดในสาธารณรัฐเฮลเลนิก ซึ่งประสบปัญหากับการปกครองในระบอบเผด็จการทหารในระยะเวลาสั้นๆ แต่ตระหนักถึงสิทธิของประชาชน รวมทั้งมีจิตสำนึกที่ไม่ยอมรับเผด็จการทหาร ถึงกับระบุวิธีการป้องกันการยึดอำนาจไว้ในรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ถึงแม้ว่าจะอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิมเป็นเวลานานหลายร้อยปี ชาวกรีกยังสามารถรักษาความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาคริสต์ไว้อย่างเหนียวแน่น ด้วยวัตรปฏิบัติพิเศษที่เฉพาะ ตัวจนกลายเป็นศาสนาคริสต์นิกายกรีกออโธดอกส์ ซึ่งบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญอีกด้วย
ลักษณะของพลเมือง
ลักษณะของพลเมือง เนื่องจาก อารยธรรมของสาธารณรัฐเฮลเลนิกเป็นอารยธรรมเก่าแก่ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ถือเป็นแม่แบบของอารยะธรรมตะวันตกและอารยะธรรมสมัยใหม่ แหล่งตั้งถิ่นฐานของชาวสาธารณรัฐเฮลเลนิกอยู่ในบริเวณปลายคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งอยู่ทางตะวันออกสุดของยุโรปใต้ภูมิประเทศประกอบด้วยเทือกเขากระจายอยู่ทั่วไปไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์มากนัก มีหุบเขาหรือที่ราบเป็นบริเวณแคบๆล้อมรอบด้วยภูเขา พื้นที่ทำการเพาะปลูกมีอยู่จำกัด ทำให้พลเมืองอยู่รวมกันหนาแน่นเป็นแห่ง ๆ การติดต่อระหว่างพื้นที่มีความยากลำบาก ประชาชนจึงรักสันโดษและชอบอยู่ตามลำพังอย่างอิสระ มีส่วนทำให้เกิดนครรัฐอิสระที่ไม่ขึ้นต่อกัน ภูมิประเทศที่ทำให้มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนนี้ทำให้เกิดนครรัฐที่ไม่ใหญ่โตประชากรจึงมีความผูกพันและภูมิใจในนครรัฐของตนผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปมีความใกล้ชิดกันมาก จนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้ต่อมาในบางรัฐ(Wikispaces,2008)
ประชากร กำลังคน แรงงาน
สาธารณรัฐเฮลเลนิก มีประชากรทั้งหมด 11.213 ล้านคน ประกอบด้วยเพศชาย 5.554 ล้านคนและเพศหญิง 5.659 ล้านคน ประชากรที่มีอายุ 14 ปีลงมามีร้อยละ 14.3 ประชากรที่มีอายุระหว่าง 15-64 ปี มี ร้อยละ 66.6 ส่วนประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมีร้อยละ 19.1
- อัตราการเติบโตของประชากรคิดเป็นร้อยละ 0.146
- อัตราการเกิดของประชากรคิดเป็น 9.54 คน ต่อ 1,000 คน(ประมาณการใน พ.ศ.2551)
- อัตราการตายของประชากรคิดเป็น 10.42 คน ต่อ 1,000 คน(ประมาณการใน พ.ศ.2551)
- อายุขัยของประชากรโดยเฉลี่ย 79.52 ปี เพศชายมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 76.98 ปี ส่วนเพศหญิงมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 82.21 ปี
จากผลการประมาณการเมื่อ ปี 2551 สาธารณรัฐเฮลเลนิกมีแรงงาน 4.945 ล้านคน ซึ่งกระจายอยู่ในภาคการเกษตรกรรมร้อยละ 12 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 20 ส่วนที่เหลืออยู่ในภาคบริการร้อยละ 68 (National Statistical Service of Greece, 2008)
เมืองสำคัญ
กรุงเอเธนส์ (Athens กรุงเอเธนส์ ตั้งอยู่ที่พิกัด เส้นรุ้งที่ 38° 02' N และเส้นแวงที่ 23° 44' E เป็นเมืองหลวง และเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของกรีซ ตามประวัติศาสตร์เอเธนส์เป็นเมืองที่เก่าแก่มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปีมาแล้ว มีพื้นที่ ประมาณ 39 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่ตรงใจกลางของเขตแอทติกา (Attika) ทางตะวันตกล้อมรอบด้วยเทือกเขาเอกาลิโอ (Mount Aegaleo) ทางเหนือจรดเทือกเขาปานิธา (Mount Parnitha) ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดเทือกเขาเพนเตลี (Mount Penteli) ทิศตะวันออกจรดเทือกเขาไฮเม็ททูส ( Mount Hymettus) ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดอ่าวซาโรนิค( Saronic Gulf) การขยายเมืองเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของประชากรกระทำได้ค่อนข้างยาก ใจกลางเมืองมีปัญหาเรื่องมลภาวะทางอากาศสูง
กรุงเทสซาโลนิคิ (Thessaloniki) หรือ Thessalonica หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซาโลนิคา (Salonica กรุงเทสซาโลนิคิ (Thessaloniki) เป็นเมืองที่โตเป็นอันดับที่สองรองจากกรุงเอเธนส์ และเป็นเมืองหลวงของแคว้นมาซิโดเนียในส่วนที่เป็นของสาธารณรัฐเฮลเลนิกในปัจจุบันด้วย ชายฝั่งของกรุงเทสซาโลนิคิ (Thessaloniki) จะล้อมรอบอ่าว เทอร์มาอิก (Thermaic Gulf) ยาวถึง 17 กิโลเมตร กรุงเทสซาโลนิคิ (Thessaloniki) เป็นศูนย์กลางหลักอันดับสองของประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม พาณิชย์และการเมืองการปกครอง อีกทั้งมีท่าเรืออีก 1 แห่งทำหน้าที่เป็นชุมทางคมนาคมและขนส่งของยุโรปใต้ และที่นี่จะมีการจัดงานมหกรรมสินค้านานาชาติทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีจะมากล่าวเปิดงานทุกครั้ง มีท่าอากาศยานานาชาติที่ทันสมัย ใช้การคมนาคมเป็นชุมทางขนถ่ายสินค้าและประชากรจากคาบสมุทรบอลข่านไปยัง โซเฟีย (Sofia) สโคปเจ (Skopje) เบลเกรด (Belgrade) มอสโค เวียนนา บูดาเปสท์ บูคาเรสท์ และอีสตันบูลโดยตรง
ความหนาแน่นของประชากร
สาธารณรัฐเฮลเลนิกมีประชากร 11.213 ล้านคน ประกอบด้วย เพศชาย 5.554ล้านคน กับ เพศหญิง 5.659 คน (National Statistical Service of Greece, 2008) เมืองที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน คือ กรุงเอเธนส์มีประชากร 3,700,000 คน (คิดเป็นร้อยละ 33 ของประชากรทั้งประเทศ) (Phantis Wiki, 2008) โดยเฉลี่ยความหนาแน่นของประชากรในกรุงเอเธนส์ คิดเป็น 7,367 คนต่อตารางกิโลเมตร รองลงมาคือ กรุงเทสซาโลนิคิ (Thessaloniki) มีประชากร 1,099,598 คน (พ.ศ. 2548) (คิดเป็นร้อยละ 9.8 ของประชากรทั้งประเทศ) (Aristotle University of Thessaloniki, 2007) นอกจากนั้นยังมีเมืองสำคัญที่ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นปานกลางและมีจำนวนต่ำกว่า 1 ล้านคน ได้แก่ เมือง พิเรอุส (Piraeus) มีประชากร 600,000 คน (Royalcaribbean, 2007) (คิดเป็นร้อยละ 5.4 ของประชากรทั้งประเทศ) เมืองพาทราส (Patras) มีประชากร 250,000 คน (Mediainfo2004, 2006) (คิดเป็นร้อยละ 2.2 ของประชากรทั้งประเทศ) ลาริสสา (Larissa) มีประชากรประมาณ 250,000 คน (Absolute astronomy, 2008) (คิดเป็นร้อยละ 2.2 ของประชากรทั้งประเทศ) นอกนั้นประชากรที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 47.4 จะตั้งหลักแหล่งอยู่เป็นแหล่งๆกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปทั้งบนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะต่างๆ
การจัดการทรัพยากรน้ำ
จากการเก็บสถิติการใช้น้ำ โดยเฉลี่ยสาธารณรัฐเฮลเลนิกใช้น้ำไปเพื่อการเกษตรร้อยละ 87 ประปา (ดื่ม/ใช้) ร้อยละ 10 ส่วนอีกร้อยละ 3 ใช้กับการอุตสาหกรรมและการพลังงาน
สาธารณรัฐเฮลเลนิกจัดการทรัพยากรน้ำ โดยแบ่งพื้นที่ประเทศออกเป็น 14 เขต เปโลปอนนีสตะวันออก, เปโลปอนนีสตะวันตก, เปโลปอนนีสเหนือ, สาธารณรัฐเฮลเลนิกภาคกลางและอีเวีย (Evia), สาธารณรัฐเฮลเลนิกภาคกลางตะวันตก, อีปิรูส(Epirus), แอทติกิ(Attiki), เธสซาลี (Thessaly), มาซิโดเนียตะวันตก ( West Macedonia), มาซิโดเนียภาคกลาง (Central Macedonia) มาซิโดเนียตะวันออก (East Macedonia) เทรซ (Thrace) เกาะครีท (Crete) และ อีเจียน (Aegean) รัฐบาลกลางโดยกระทรวงการพัฒนา (Ministry of Development) มอบนโยบายให้แต่ละเขตไปดำเนินการเองภายใต้กฎหมายที่สาธารณรัฐเฮลเลนิกตราขึ้นโดยตรง
ระบบจัดการประปาและระบบกำจัดน้ำเสียของสาธารณรัฐเฮลเลนิกแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
กรุงเอเธนส์กับ กรุงเทสซาโลนิคิ (Thessaloniki) กฎระเบียบกำหนดให้บริษัทที่ดำเนินการจะต้องไม่มุ่งหวังกำไร เป็นเจ้าของ (Owned) และดำเนินการ (Operate) ประปาและระบบบำบัดน้ำเสียในรูปของบริษัทเอกชนเป็นเวลา 20 ปี
เมืองที่มีประชากรมากกว่า 10,000 คน กำหนดให้บริษัทเอกชนดำเนินการ (Operate)โดยเทศบาลเป็นเจ้าของ (Owned)ส่วนเมืองขนาดเล็กอีกประมาณร้อยละ 7 กำหนดให้เทศบาลดำเนินการโดยตรง
07 กรกฎาคม 2552
ระบบไฟฟ้า
ใน พ.ศ. 2547 สาธารณรัฐเฮลเลนิกมีโรงไฟฟ้าพลังความร้อนสามารถผลิตไฟฟ้าได้ร้อยละ 75 โรงไฟฟ้าพลังน้ำร้อยละ 21 และโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานทดแทน (โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์) อีกร้อยละ4
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนส่วนใหญ่ใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ใช้น้ำมันเตาในการผลิตฯ ทั้งนี้เนื่องจากกรีซมีปริมาณถ่านลิกไนต์สำรองถึง 3,838 ล้านเมตริกตัน(4,299 million short tons) (EIA., 2006) แต่ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆนั้น กรีซมีนโยบายที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อลดมลภาวะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ (EIA, 2004) ปริมาณการผลิตจำแนกเป็น
(ก) ปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งปี (พ.ศ. 2548) จำนวน56,130 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
(ข) ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งปี (พ.ศ. 2548) จำนวน 54,310 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
(ค) ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ขายให้กับประเทศเพื่อนบ้าน (พ.ศ. 2548) จำนวน 1,836 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
(ง) ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ซื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน (พ.ศ. 2548) จำนวน 5,616 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
การขนส่งภายในเมือง
การขนส่งภายในเมืองของสาธารณรัฐเฮลเลนิก ใช้ทั้งการขนส่งทางบก ทั้งทางถนนและทางรถไฟเป็นหลัก ส่วนรถไฟใต้ดินจะใช้งานเฉพาะในเมืองใหญ่ เช่น เอเธนส์ เป็นต้น
ทางรถยนต์ ยาวทั้งสิ้น 117,533 กิโลเมตร ประกอบด้วยถนนคอนกรีต/ลาดยาง 107,895 กิโลเมตร (รวมทางด่วน 880 กิโลเมตร) กับส่วนที่ยังไม่ลาดยางอีก 9,638 กิโลเมตร (CIA, 2004)
ทางรถไฟ ยาวทั้งสิ้น 2,571 กิโลเมตร วางพาดผ่านเมืองต่างๆ มีสถานีเป็นจุดขนถ่ายผู้โดยสารและสินค้า
ภายในกรุงเอเธนส์มีรถไฟใช้ไฟฟ้า (Athens Metro)ให้บริการขนส่งมวลชน 3 สาย นับถึงพฤษภาคม 2551 รวมเส้นทางยาวทั้งสิ้นประมาณ 55 กิโลเมตร และมีสถานีรับส่งผู้โดยสาร 51 สถานี (Urbanrail, 2007) ประกอบด้วย
สายที่ 1 สีเขียว ยาว 26 กิโลเมตร (รางบนดิน ยาว 23 กิโลเมตร ใต้ดิน ยาว 3 กิโลเมตร)วิ่งระหว่าง Piraeus –Kifissia จอดรับส่งผู้โดยสาร 26 สถานี รองรับผู้โดยสารได้วันละ 415,000 คน
สายที่ 2 สีแดง ปัจจุบันยาว 10.9 กิโลเมตร เปิดให้บริการประชาชนครั้งแรกเมื่อ 28 มกราคม 2543 ปัจจุบันเปิดให้บริการขนส่งประชาชนจาก Aghios Antonios ไปยัง Aghios Dimitrios/Alexandros Panagoulis จอดรับส่งผู้โดยสาร 14 สถานี ใช้รถ 14 คัน
สายที่ 3 สีน้ำเงิน ปัจจุบันยาว 16.4 กิโลเมตร เปิดให้บริการประชาชนครั้งแรกพร้อมกับสายที่2 และปัจจุบันเปิดให้บริการขนส่งประชาชนจาก Egaleo ไปยัง Doukissis Plakentias จอดรับส่งผู้โดยสาร 13 สถานี และได้เชื่อมเส้นทางระหว่างชานกรุงเอเธนส์ ณ ที่สถานี Doukissis Plakentias กับท่าอากาศยานนานาชาติ (Athens International Airport "ELEFTHERIOS VENIZELOS") อีกเป็นระยะทาง 21.2 กิโลเมตรผ่านสถานีอีก 4 สถานี ทำให้การขนส่งผู้โดยสารและสัมภาระเข้าออกระหว่างกรุงเอเธนส์กับสนามบินคล่องตัวและสะดวกรวดเร็วมาก (Attiko Metro Operation Company S.A. , 2008)
หมายเหตุ รถไฟฟ้าสายที่ 2 กับ สายที่ 3 รองรับผู้โดยสารได้วันละ 650,000 คน (Attiko Metro Operation Company S.A. , 2008)
โครงการก่อสร้างสายที่ 4 สีเหลือง ความยาว 20.9 กิโลเมตร 20 สถานี ประมาณการลงทุน 2.1 ล้านยูโร จาก Alsos Veikou – Panepistimio – Evangelismos – Ano Ilissia – Katehaki สิ้นสุดที่ Maroussi ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างหาแหล่งเงินลงทุน (Attiko Metro Operation Company S.A. , 2008)
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินใน กรุงเทสซาโลนิคิ (Thessaloniki) ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร 13 สถานี รองรับการใช้รถไฟ 12 ขบวนใช้งบประมาณ 1.052 ล้านยูโร เริ่มโครงการมาตั้งแต่ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 ปัจจุบันอยู่ในระหว่างดำเนินการ
พื้นที่ในตัวเมือง
ประกอบด้วยพื้นที่ในการเพาะปลูกประมาณ 26,980 ตารางกิโลเมตร(ร้อยละ 20.45) พื้นที่ปลูกพืชล้มลุกโดยเฉพาะ ประมาณ 11,200 ตารางกิโลเมตร(ร้อยละ 8.49) ส่วนพื้นที่เหลืออีก ร้อยละ 70.96 ใช้ในการทำประโยชน์อื่นๆ (ข้อมูลปี 2548) นอกจากนั้นรัฐได้ใช้พื้นที่เพื่อใช้ในการจัดทำระบบชลทานสนับสนุนการเพาะปลูกอีก 14,530 ตารางกิโลเมตร (ข้อมูลปี 2546)
พืชพันธุ์ธัญญาหาร
พืชผลที่สำคัญ คือ ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาร์เล่ย์ ต้นบีท (ใช้ทำน้ำตาล) มะกอก มะเขือเทศ ไวน์ ใบยาสูบ มันสำปะหลัง
ทรัพยากรธรรมชาติ
สาธารณรัฐเฮลเลนิกเป็นประเทศในอียูที่ผลิตถ่านลิกไนต์ได้อันดับสองรองจากประเทศเยอรมัน นอกนั้นสาธารณรัฐเฮลเลนิกยังมี ปิโตรเลียม แร่เหล็ก หินแร่สำคัญในอะลูมิเนียม ตะกั่ว สังกะสี นิเกิล แมกนีเซียม หินอ่อน เกลือ ต้นน้ำที่มีศักยภาพสูงพอที่จะก่อสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
....................................................
ขอมอบให้ผู้มาเยือนด้วยความนับถือ ...
สัมพุทเธ อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
(คำแปล)ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า 512,028 พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ของพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น โดยเคารพด้วย
นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
(คำแปล)ด้วยอานุภาพแห่งการทำความนอบน้อม ขอจงขจัดเสียซึ่งอุปัททวะทั้งหลายทั้งปวง ถึงแม้อันตรายเป็นอันมาก ก็จงพินาศไปโดยสิ้นเชิง
สัมพุทเธ ปัญจะปัญญา สัญจะ จะตุวีสะติสะหัสสะเก
ทะสะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
(คำแปล)ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า 1,024,055 พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ของพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น โดยเคารพด้วย
นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
(คำแปล)ด้วยอานุภาพแห่งการทำความนอบน้อม ขอจงขจัดเสียซึ่งอุปัททวะทั้งหลายทั้งปวง ถึงแม้อันตรายเป็นอันมาก ก็จงพินาศไปโดยสิ้นเชิง
สัมพุทเธ นะวุตตะระสะเต อัฏฐะจัตตาฬีสะสะหัสสะเก
วีสะติสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
(คำแปล)ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า 2,048,109 พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ของพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น โดยเคารพด้วย
นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
(คำแปล)ด้วยอานุภาพแห่งการทำความนอบน้อม ขอจงขจัดเสียซึ่งอุปัททวะทั้งหลายทั้งปวง ถึงแม้อันตรายเป็นอันมาก ก็จงพินาศไปโดยสิ้นเชิง
ลักษณะภูมิประเทศ
ประกอบด้วยพื้นที่ที่เป็นภูเขา ทะเล และหมู่เกาะ ในส่วนของแผ่นดินใหญ่นั้นมีเทือกเขาปินดอส (Pindos) ทอดตัวยาวเหยียดจากทิศเหนือจรดใต้ลงไปจนถึงทะเลที่เปลโอปอนนีส (Peloponnesus) และเทือกเขานี้มียอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาโอลิมปุส (Mount Olimpus) ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2,917 เมตร กรีซมีแม่น้ำสำคัญ 4 สายคือ แม่น้ำ อาเฮลูส (Aheloos) อาลิแอคมวนนาส (Aliakmoanas) อาอูส(Aoos) และ อาราธอส (Arahthos) มีหมู่เกาะต่างๆประมาณ 2,000 เกาะ
ของแถม : วิธีการฆ่าเชื้อไวรัส (ถอดความจากเทปความทรงจำพิเศษ : หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
ท่านสาธุชนทั้งหลายวันนี้เป็นวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2534 ตอนเมื่อที่ผ่านมารู้สึกว่าพูดไม่ค่อยจะชัด...ทีนี้มาว่าถึงอาการป่วยอย่างเมื่อวานที่เคยพูดไว้ วันที่ 29 อุจจาระเป็นเหตุให้ปัสสาวะไม่ออกกับเป็นเหตุให้ปวดขาอย่างนี้ก็มี พ่อจรูญโทรศัพท์บอกว่าเปิดตำราแพทย์ไม่พบ ก็ต้องขอตอบในที่นี้ว่าตำราแพทย์ยังเขียนไม่ถึง ถ้าเขียนถึงก็พบ ก็ไปต่อว่าท่านโกมารภัจน์ว่าทำไมไม่สอนลูกศิษย์ ท่านบอกสอนแล้ว ตำรามีแล้วแต่ว่าไม่มีใครปฎิบัติตาม ในเมื่อไม่มีคนปฎิบัติตามก็ไม่สามารถจะรู้ได้
ขอย้อนกลับไปสมัยที่ปัสสาวะไม่ออก ที่นายแพทย์ประสิทธิ์ ฟูตระกูลเป็นรองศาสตราจารย์จุฬาลงกรณ์ มาสวนให้ปัสสาวะออก แล้วเธอก็บอกว่า “หลวงพ่อทนมากเกินไปกระเพาะปัสสาวะมันจึงตึงใกล้จะแตก ก็ขอกับท่านว่าความจริงไม่รู้สึกว่ามันปวด ถ้ารู้สึกว่ามันปวดมันทนไม่ไหวก็ไม่สามารถจะทนได้ มันไม่รู้สึก ในเมื่อพระครูปลัดอนันต์ไปถามเข้า เอามือไปแตะนิดเดียวมันปวดจี๋ทันที และก็หายไปด้วยอานาปานุสติ
ตอนนั้นเป็นเรื่องแปลกเป็นการฝึกกำลังมโนยิทธิหรือที่เรียกด้านอภิญญา จะฝึกขนาดหนักขนาดที่ว่าจะไปไหนก็คล่องตัวมากเสมือนตัวไปเอง เราจะสอนวิธีที่หนักที่กำลังสูงมันก็แกล้งเรา และต่อมานายแพทย์ประสิทธิ์ก็สั่งหมอ ในโรงพยาบาลแม่และเด็ก ว่าถ้าหลวงพ่อมีอาการเกิดขึ้นแบบนี้ให้ทำแบบนี้ และต่อมาอาการขัดเบาขัดปัสสาวะมันก็เกิดขึ้นอีก
คราวนี้ปัสสาวะไม่ออกอีกก็บอกให้คนไปบอกหมอที่โรงพยาบาลในวัด และก่อนที่หมอจะมาก็ให้พรนุช คืนคงดี เธอทำการล้างท้อง หลังจากทำการล้างท้องเสร็จ อาการปวดท่อปัสสาวะก็ไม่มี ปัสสาวะคล่อง ตอนเย็นหมอจึงมา พอหมอมาแล้วหมอก็ไม่ถามเธอก็มานั่งชวนหมอคุย ในตอนนั้นก็ได้รับความรู้พิเศษในขณะที่เค้ากำลังล้างท้องอยู่ก็ดี หลังจากการล้างท้องแล้วก็ดี อาการป่วยมันมาก ก็นอนที่กฎิกลางน้ำ นอนจับอาณาปานุสติ ใช้กำลังใจตามสมควรก็เห็นพระท่านมา ท่านบอกว่า คุณ..ไวรัสที่เป็นเชื้อโรคร้ายทั้งหลายมันเต็มไปหมดบริเวณนี้ หมามันก็นอน ออกจากหมาบ้างออกจากคนบ้างในเวลานี้ มันเต็มไปหมด เต็มจริงๆ แหมนับปริมาณไม่ถ้วน เห็นตัวเกลื่อนไปหมด มันมีลักษณะต่างๆ กัน และได้ว่าไวรัสต่างๆ ทั้งหมดมันแพ้ควัน ฉะนั้นคนโบราณจึงไม่ค่อยจะเป็นโรคกับเค้า เพราะคนโบราณหรือคนรุ่นเก่าเป็นคนจน ไม่มีมุ้งลวด บางบ้านก็ไม่มีมุ้ง ถ้ามียุงเกิดขึ้นก็สุมควัน ให้ควันเกิดขึ้น สุมควันให้คนบ้าง สุมควันให้ควายบ้าง สุมควันให้สุนัขบ้างกันยุง และควันนั้นทำลายไวรัสอย่างร้ายกาจ ไวรัสเมื่อกระทบควันเข้ามันจะตายทันที ท่านบอกว่าให้สุมเอากาบมะพร้าวมาสุมเป็นควันภายในกุฎิ และพวกไวรัสมันจะตาย ก็ทำตามนั้น
เมื่อทำหลังจากทำเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ปรากฎว่าหมอมาก็คุยกัน หมอจะมาล้างท้อง หมอจะมาสวนปัสสาวะให้แต่ความจริงไม่ต้องสวนแล้วพอถ่ายอุจจาระพอล้างท้องเสร็จ ไอ้ตัวที่เบียดท่อปัสสาวะมันก็หายไป มันไม่เบียดแล้วมันก็เลิก ปัสสาวะตามปกติ อาการปวดก็ไม่มี แต่หมอก็ไม่ได้ถาม ก็นั่งคุยกันอยู่พักนึง ก็คุยเรื่องไวรัสหมอก็พูดเรื่องไวรัส ก็ตรงกันกับภาพที่เราเห็นไปๆมาๆ หมอก็ถามว่าจะสวนรึยังขอรับ คุยอยู่พักใหญ่เอ้าตายจริงหมอ..ชั้นลืมไปว่าไม่ต้องสวนแล้ว ในเมื่อล้างท้องเสร็จมันก็หายแล้วปัสสาวะปกติแล้ว ผมกำลังมีแขกครับ หมอก็ทำไมไม่บอกตอนมาใหม่ๆ หมอบอกเกรงใจ เป็นอันว่าการปัสสาวะไม่ออกก็จะมีอาการสองอย่างคือนิ่วก็ได้ อาตมาไม่ใช่หมอนะ อีกอย่างหนึ่งก็จะมีอะไรไปเกิดตันในท่อปัสสาวะตามเวลาที่เรารู้ๆกันแต่อาการพิเศษคือว่าอุจจาระแข็งเข้าไปเบียดท่อปัสสาวะเป็นเหตุให้ปัสสาวะไม่ออกและอาการปวดขา ไอ้ปวดเมื่อยธรรมดานี่ก็อย่างหนึ่งนี่มันปวดผิดปกติ เจ้านี่ก็เหมือนกันเมื่อเวลาล้างท้องเสร็จมันก็จะหายปวด และอาการบวมที่ขาก็เหมือนกัน ถ้าล้างท้องเสร็จมันก็จะหายบวมที่ขาก็จับได้ว่าไอ้เจ้าอุจจาระนี่มันร้ายกาจมาก ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ก็เป็นว่าต้องยอมรับความสามารถของมัน....
ที่มา วัดถ้ำเมืองนะ
ลมฟ้าอากาศ และอากาศประจำถิ่น
สภาพอากาศของสาธารณรัฐเฮลเลนิก แบ่งเป็น 3 แบบตามลักษณะของภูมิประเทศ คือ แบบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แบบเทือกเขาแอลป์ (Alpine) และ แบบอบอุ่นค่อนข้างหนาว(Temperate)
ภูมิอากาศแบบแรก ฝนจะตกในฤดูหนาว แห้งแล้งในฤดูร้อน ได้แก่ บริเวณพื้นที่ที่เป็นหมู่เกาะ ไซเครดส์ (Cyclades) จำนวน 220 เกาะ หมู่เกาะโดเดแซนีส (Dodecanese) จำนวน 163 เกาะ (Wikipedia,2008) เกาะครีท (Crete) บริเวณพื้นที่ทางทิศตะวันออกของคาบสมุทรเปลโอปอนนีส (Peloponessus) (Wikipedia,2008) และบางพื้นที่ของแคว้น สเตอเรีย เอลเลดา (Sterea Ellada) (Wikipedia,2008) ในฤดูหนาวหิมะจะตกถี่มาก และบางโอกาสหิมะก็จะตกบริเวณหมู่เกาะไซเครดส์ (Cyclades) กับ หมู่เกาะโดเดแซนีส (Dodecanese) ด้วย
ภูมิอากาศแบบที่ 2 แบบเทือกเขาแอลป์ ครอบคลุมบริเวณพื้นที่ เอปิรูส (Epirus)ภาคกลางของสาธารณรัฐเฮลฌลนิก เธสเซลี(Thessaly) และบริเวณตะวันตกของเขตมาซิโดเนีย
แบบสุดท้ายคือ แบบอบอุ่นค่อนข้างหนาว (Temperate)จะครอบคลุมบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกของ เขตมาซิโดเนีย เขตเทรซ ลักษณะของอากาศจะหนาว ชื้นในฤดูหนาว และ แห้งแล้งในฤดูร้อน
สำหรับกรุงเอเธนส์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐเฮลเลนิกนั้น ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมมากคืออยู่ระหว่างสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กับสภาพอากาศแบบเทือกเขาแอลป์ ดังนั้นชานเมืองทางตอนใต้จะมีสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในขณะที่ทางตอนเหนือมีสภาพอากาศแบบ เทือกเขาแอลป์ (วิกิพีเดีย,2008)
ของแถม....เชิญทางนี้ครับ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ........
มีครูกับลูกศิษย์นั่งอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ซึ่งใกล้กับสนามหญ้าอันกว้างใหญ่
ทันใดนั้น ลูกศิษย์คนหนึ่งก้อถามขึ้นมาว่า
ลูกศิษย์ : อาจารย์คับ ผมสงสัยจังเลยว่า
เราจะหาคู่แท้ของเราเจอได้ไงคับอาจารย์
บอกผมหน่อยได้ไหมคับ ?
อาจารย์ : ( เงียบไปพักหนึ่ง ก่อนที่จะตอบ )
อืม มันเป็นคำถามที่ยากนะ
แต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นคำถามที่ง่ายเหมือนกันนะ
ลูกศิษย์ นั่งคิดอย่างหนัก )
อืม ?..... งงอะไม่เข้าใจ
อาจารย์ : โอเค งั้น
เธอลองมองไปทางนั้นนะ ตรงนั้นน่ะ
มีหญ้าเยอะแยะเลยใช่ไหม
เธอลองเดินไปหาหญ้าต้นที่สวยที่สุด
แล้วเด็ดมาให้ครูสิ ต้นเดียวเท่านั้นนะ
แต่ว่าเวลาเธอเดินเนี่ยเธอต้องเดินไปข้างหน้าอย่างเดียวนะ
ห้ามเดินถอยหลัง เข้าใจไหม
ลูกศิษย์ : ได้เลยครับ จาน รอสักครูน่ะครับ
( ว่าแล้วก้อวิ่งตรงไปยังสนามหญ้า )
หลังจากนั้นไม่นาน ....
ลูกศิษย์ : ผมกลับมาแล้วครับจาน
อาจารย์ : อืม ... แต่ทำไมครูไม่เห็นต้นหญ้าสวย ๆ
ในมือเธอเลยหละ
ลูกศิษย์ : อ๋อ คืองี้ครับจาน
ตอนที่ผมเดินไปแล้วผมเจอต้นหญ้าสวยๆเนี่ย
ผมก้อก้อคิดว่า เออ เดี๋ยวก้อคงเจอต้นที่สวยกว่านี้
ดังนั้นผมก็เลยไม่เด็ดมัน แล้วผมก็เดินไปเรื่อย
รู้ตัวอีกที
มันก็สุดสนามหญ้าแล้วครับจะเดินกลับก้อไม่ได้
เพราะจานสั่งห้ามไว้
อาจารย์ : นั่นแหละ
คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในชีวิตจริงหละ
เรื่องนี้ต้องการที่จะสื่ออะไรกับเรา
ต้นหญ้า ก็คือ คนที่อยู่รอบ ๆ ตัวคุณ
ต้นหญ้าที่สวยงาม ก็คือคนที่คุณชอบ
หรือคนที่ดึงดูดคุณนั่นแหละ
ทุ่งหญ้าก็คือ เวลา เวลาที่คุณจะหาคู่แท้ของคุณ
อย่ามัวแต่เปรียบเทียบ
แล้วคิดว่าคงจะมีที่ดีกว่านี้ เพราะถ้าคุณ มัวแต่เปรียบเทียบ
คุณจะเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
อย่าลืมว่า ' เวลาไม่เคยย้อนกลับ '
ไม่ใช่แค่ความรักเท่านั้น
เรื่องนี้ ยังสามารถใช้ได้กับการหาคนที่จะมาทำงานร่วมกับคุณในชีวิต
หรือแม้กระ ทั่งงานที่เหมาะสมกับคุณ
ดังนั้น มันจึงเป็นสัจธรรมที่ว่า
จงรัก และไขว่คว้าโอกาสที่มาถึง
ที่ตั้งของประเทศกรีซ
กรีซ ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตอนใต้ โดยอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรบอลข่าน (Balkan Peninsular)และทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean) ทิศเหนือจรดอัลบาเนีย (Albania) มาซิโดเนีย (Macedonia) และบัลกาเรีย (Balgaria) ทิศตะวันออกจรดตุรกี และทะเลอีเจียน (Aegean) ทิศใต้จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกจรดทะเลไอโอเนียน (Ionian Sea)

มีพื้นที่ ขนาด 131,940 ตารางกิโลเมตร จำแนกเป็น ที่ราบและหุบเขา 130,800 ตารางกิโลเมตร กับ ต้นน้ำลำธาร 1,140 ตารางกิโลเมตร (CIA, 2008)
มีพรมแดนยาว 1,228 กิโลเมตร มีชายแดนติดกับประทศ อัลบาเนีย 282 กิโลเมตร ประเทศบัลกาเรีย 494 กิโลเมตร ประเทศตุรกี 206 กิโลเมตร และประเทศมาซิโดเนีย 246 กิโลเมตร (CIA, 2008)
รูปร่างเป็นพื้นที่ยื่นลงมาทางทิศใต้ของทวีปยุโรป เส้นเขตแดนทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกของประเทศถูกห้อมล้อมด้วยทะเลเกือบทั้งหมด มีลักษณะชายฝั่งเว้าๆแหว่งๆมาก ระยะทางวัดจากเหนือจรดใต้ยาว 940 กิโลเมตร และวัดจากตะวันออกจรดตะวันตกได้ 772 กิโลเมตร
(ตั้ง นะโม ๓ จบ )แล้วสวด....
นาสังสิโม
พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน )
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันต ุเม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
มิเตภาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา
วิระทาสี วิระทาสา วิระอิทถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)
สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ
( บูชา ๙ จบ ตัวคาถาต้องว่าทั้งหมด)
ที่มา หลวงพ่อได้คาถาบทเหล่านี้โดยตรงจากองค์สมเด็จฯ(องค์ปฐม)ตั้งแต่ปี 2517 เป็นเวลา 4 ปี จึงจะได้ครบถ้วน ท่านบอกว่า คาถาที่ได้จากกรรมฐาน เขาจะไม่บอกใคร เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2527 เวลา 23.59 น. องค์สมเด็จฯ ได้อนุญาตให้ลูกหลาน และพุทธบริษัทใช้ได้เป็นสาธารณะ เพื่อช่วยบรรเทาสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ อีกทั้งการก่อสร้างของวัดท่าซุง จะต้องเร่งรัดให้เสร็จทันฉลองวัดในปี 2532 จึงจำเป็นที่จะต้องใช้คาถาเหล่านี้ช่วย เพื่อพุทธบริษัท และลูกหลานของหลวงพ่อ มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น
คาถา"นาสังสิโม" หลวงพ่อให้ท่องเพิ่มเติมเมื่อปี 2532
คาถา"เพ็งๆพาๆหาๆฤาๆ" พระปัจเจกพุทธเจ้ามาบอกหลวงพ่อ เมื่อ พฤศจิกายน 2533 เป็นภาษาโบราณ แต่เทียบกับภาษาไทยอ่านได้อย่างนี้ เป็น"คาถามหาลาภ" มีผลยิ่งใหญ่มาก......
หมายเหตุ ท่านว่า...ให้สวดด้วยความเคารพในพระรัตนตรัยจริงๆ
เคารพพระพุทธเจ้าจริงๆ พระองค์ประทานมา เราจึงสวดด้วยความเคารพ
เคารพพระธรรมจริงๆ เป็นพระดำรัสของพระองค์ เราจึงสวดด้วยความเคารพ
เคารพพระสงฆ์จริงๆ ครูบาอาจารย์เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วยกันทั้งนั้น เราจึงสวดด้วยความเคารพ
ตั้งใจสวดถวายเป็นพุทธบูชา ธัมมบูชา สังฆบูชา ก่อนสวดอยากรวยได้..แต่ขณะสวดให้ลืมไปเสีย
โดยเฉพาะทำให้จิตตั้งมั่น มีสมาธิดีเท่าไหร่ ยิ่งเห็นถึงพุทธบารมี อันประมาณหาไม่ได้จริงๆ
ช่วงแรกอาจยังไม่เห็นผล แต่ถ้าทำให้สม่ำเสมอ (ทุกวัน) ...เจอกับตัวดีกว่า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)